วิธีคิดก่อนตัดต่อวิดีโอ

Label สีของฟุทเทจช่วยทำให้การตัดต่องานไม่หลงทาง ยิ่งกรณีที่ถ่ายภาพมาเยอะเหลือเกิน การใช้สี Default ของคลิปจะทำให้งานทั้งไทม์ไลน์ยาวเป็นพรืดไปหมด

ข้อดีของมันก็พอมี คือง่าย เหมาะกับความเกียจคร้านระยะแรกได้

แต่ข้อเสียคือ เราจะไม่รู้เลยว่าการเกลี่ยน้ำหนักของเรื่องเป็นอย่างไร

เวลานั่งอยู่หน้าไทม์ไลน์ หลังจากตรวจสอบฟุทเทจทั้งหมดแล้วผมจะจัดกลุ่มคลิปด้วยการใส่ Label สีของมันให้เรียบร้อย แยกเป็นกลุ่มๆ ก้อนๆ เอาไว้ผ่านการจำแนกสี

เช่น

Cerulean เป็นแหล่งข่าว A
Lavender เป็นแหล่งข่าว B
Tan เป็นคลิปที่โหลดมาจาก Facebook
Green เป็นคลิปที่ดึงมาจาก Sequence อื่น
ฯลฯ

พอเห็นภาพแบบนี้เราก็จะรู้ว่าเรื่องที่กำลังจะเล่านั้นถ่ายโอนน้ำหนักไปที่คนใดคนหนึ่ง ชุดภาพใดชุดภาพหนึ่งเยอะเกินไปหรือไม่ วางต่อเนื่องถี่ยาวเกินไปหรือเปล่า

วิธีนี้ทำให้ไม่หลงทาง แต่ก็ไม่การันตีว่าจะทำให้เรื่องเล่าจากไทม์ไลน์นั้นๆ ถ่ายทอดออกมาได้ดีครับ เพราะคุณภาพของเรื่องเล่ามีปัจจัยอื่นๆ ที่นอกเหนือจากกระบวนการ Post Production เยอะมาก

เป็นนักเขียนเพียงคนเดียวของเว็บไซต์นี้ (แหงละ) เป็นมนุษย์ที่ชอบบันทึกเรื่องราวเอาไว้ เนื่องจากไม่ถนัดในการจดใส่กระดาษ จึงมักเขียนไว้ในโลกออนไลน์ บางเรื่องผิด บางเรื่องถูก แต่บันทึกความทรงจำจะช่วยตักเตือนเรา